เลขที่ : 1090
ประเภทพระเครื่อง : พระพุทธรูปบูชา
ชื่อพระเครื่อง : ไต่ฮงโจวซือ
สถานะ (ให้ชม/เช่าบูชา) :
ข้อมูลของพระเครื่อง : ไต่ฮงกง หรือ ไต่ฮงโจวซือ ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว (23 เซนติเมตร) เนื้อทองม้าฬ่อ
ประวัติหลวงปู่ไต่ฮงโจวซือ
ไต่ฮงโจวซือ เดิมมีแซ่ว่า “หลิน” (หลิม/ลิ้ม) ชื่อ “เอ้อ” เกิดเมื่อปีพุทธศักราช 1582 ในรัชสมัยซ่งเหนือ ประเทศจีน ณ เมืองเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง ไต่ฮงโจวซือถือกำเนิดในครอบครัวที่มีฐานะ และมีการศึกษา เพราะเมืองเวินโจว เป็นเมือง แห่งการศึกษา ที่ผลิตนักปรัชญา, กวี, จิตรกรเส้นสายลายอักษร, นักปกครอง และนักเขียนที่มีชื่อเสียง หลายต่อหลาย คน มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ้น
ท่านอยู่ในครอบครัว และสิ่งแวดล้อมที่ดี ประกอบกับเป็นเด็กที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความจำเป็นเลิศ สามารถศึกษา เรื่องราวต่างๆ ทั้งฝ่ายบุ๋น และฝ่ายบู๊ได้อย่างแตกฉาน เมื่อถึงวัยหนุ่ม ท่านจึงเข้าสมัครสอบแข่งขันรับราชการ เช่นเดียว กับบรรพบุรุษของท่าน ทั้งยังสอบผ่านขั้นสุดท้าย จนได้ระดับ “จิ้นสือ” เข้ารับราชการในราชสำนักซ่ง
หลังจากนั้นไม่นาน ไต่ฮงโจวซือก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น นายอำเภอเชียวเฮง มณฑลจิกกัง จนกระทั่งอายุได้ 54 ปี สภาพ การเมืองภายในราชสำนักไม่ปกติ บ้านเมืองยุ่งเหยิง ด้วยฮ่องเต้ทรงอ่อนแอในการปกครอง ท่านจึงตัดสินใจลาออกจาก ราชการ แล้วมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ในบวรพระพุทธศาสนา ณ วัดแห่งหนึ่งในเมืองเวินโจว เพื่อศึกษาพระธรรม มีฉายานามว่า "ไต้ฮงโจวซือ" หรือ "ไต้ฮงกง" ซึ่งตัวท่านเองก็เชื่อว่า หนทางพระธรรมนี้ จะสามารถดับทุกข์ และช่วยเหลือ ประชาชนได้ดีกว่าการเป็นขุนนางด้วยซ้ำไป
ท่านได้เริ่มศึกษาข้อธรรมะอย่างแตกฉาน ทั้งยังเผื่อแผ่ความเมตตาไปยังผู้ยากไร้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอาคารโรงทาน การรักษาผู้ป่วยไข้ที่ยากจน หรือแม้กระทั่ง ตอนที่เมืองเวินโจวเกิดอุทกภัย หรือโรคระบาด มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายเป็น จำนวนมาก ท่านก็ออกมาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ โดยเก็บศพผู้ยากไร้อนาถาเอาไปฝัง ทั้งยังแจกจ่ายยารักษาโรค ให้กับผู้ เจ็บไข้ได้ป่วย และเลี้ยงดูคนเหล่านั้น จนกว่าพวกเขาจะช่วยตัวเองได้อีกด้วย
ต่อมาในปีรัชกาลฮ่องเต้ฮุยจง ขณะที่ท่านมีอายุได้ 81 ปี ด้วยความจำเป็นบางประการ ท่านจำต้องเดินทางธุดงค์ทางเรือ โดยออกจากเมืองเวินโจว ไปยังมณฑลกว่างตง เข้าทางแม่น้ำจวีเจียง ทวนน้ำขึ้นไปทางแม่น้ำเป่ยเจียง แล้วเข้าสู่แม่น้ำ เหลียนเจียง โดยแม่น้ำเหลียนเจียงนี้ มีความยาวประมาณ 180 กิโลเมตร มีน้ำที่ใสสะอาดดังกระจก มีแก่งที่สวยงาม สามแห่ง แต่ในช่วงฤดูน้ำหลาก หรือ ถูกพายุไต้ฝุ่นพัดเข้ามาจากทะเลจีนใต้ ที่แม่น้ำแห่งนี้จะเกิดน้ำหลาก และไหลท่วม อย่างฉับพลัน ก่อให้เกิดอันตราย สร้างความความสูญเสียกับชีวิต และทรัพย์สินของราษฎรผู้สัญจรข้ามฟากไปมาอยู่ เนืองนิจ ทำให้ไต่ฮงโจวซือเกิดแนวความคิดที่จะสร้างสะพานหิน กว้าง 5 วา ยาวประมาณ 300 วา เพื่อช่วยให้ผู้คนข้าม แม่น้ำมหาภัยนี้ได้อย่างปลอดภัย
โดยท่านได้ริเริ่มออกแบบแปลนตัวสะพาน แล้วเดินทางไปยังเมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน ( ฮกเกี้ยน ) เพื่อศึกษาวิธีก่อสร้าง สะพาน พร้อมกับบอกบุญเรี่ยไรปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธา และหาแหล่งวัสดุก่อสร้าง สะพาน ได้แก่ พวกก้อนหินขนาดใหญ่ น้อย อิฐ และปูน ฯลฯ ตลอดจนช่างผู้ชำนาญการก่อสร้างสะพาน ท่านใช้เวลาศึกษาอยู่ถึง 5 ปีจึงตัดสินใจสร้าง พร้อมกับ พระเณร และญาติธรรมที่อุทิศตนเป็นแรงกาย โดยตกลงสร้างที่ตำบลเหอผิง อำเภอเฉาเอี๋ยว และตั้งชื่อสะพาน ตามชื่อ ตำบล ว่า “เหอผิงเฉียว” ซึ่งในระหว่างการก่อสร้างสะพานนั้น มีเสียงร่ำลือกันว่า น้ำในแม่น้ำเหลียงเจียงที่มีการขึ้นลง ไหลเชี่ยวกรากทุกวัน ทั้งเช้าและเย็น ก็หยุดขึ้นลงติดต่อกัน ถึง 7 วัน ทำให้การสร้างฐานรากส่วนสำคัญของสะพาน เป็นไปได้ โดยสะดวก และสะพานนี้ยังมั่นคงถาวรยั่งยืนอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ยากไร้ ตลอดจนผู้เจ็บไข้ได้ป่วยที่ล้มตายจากโรคระบาด หรือภัยพิบัติต่างๆ และการสร้างสะพานของหลวงปู่ไต่ฮง เป็นที่ประจักษ์เลื่องลือ สรรเสริญกระฉ่อนไปทั่วแผ่นดิน ชาวจีนต่างก็พากันให้ความเคารพนับถือท่านอย่างสูง และเทิดทูนยกย่องให้ท่านเป็น พระมหาเถระอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณธรรมวิเศษยิ่งองค์หนึ่ง
(ที่มา : พุทธสมาคมเพียวเยี้ยงไท้ จีเพียวตั๊ว พ้งไล้ ซาจับอิกเซียว เกาะศรีราชา)