พระท่ากระดาน


... ...


เลขที่ : 1533

... ...

เลขที่ : 1534

... ...

เลขที่ : 1535

ประเภทพระเครื่อง : พระเนื้อชินยอดนิยม
ชื่อพระเครื่อง : พระท่ากระดาน
สถานะ (ให้ชม/เช่าบูชา) :
ข้อมูลของพระเครื่อง : พระท่ากระดาน สนิมแดง กรุเก่า ศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพระที่จัดอยู่ในเบญจภาคีเนื้อชิน ศิลปะอู่ทอง ที่มีความสวยงาม ปางมารวิชัยนั่งประทับบนฐานสำเภา พระเกศยาว เป็นพระที่เยี่ยมยอดทางคงกะพัน และ ยังร่ำลือว่า มีผลทางเมตตามหาอำนาจอีกด้วย

วัดท่ากระดาน ตั้งอยู่ใน ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบัน เป็นวัดร้าง เป็นสถานที่อยู่บริเวณหน้าถ้ำทางตอนเหนือของเมืองท่ากระดานเก่าขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งเดิมเป็นวัดเก่าแก่ เนื่องจากมีศาสนวัตถุที่ปรักหักพังและพระเจดีย์เป็นจำนวนมาก และจากวัตถุโบราณที่พบ เช่น บาตรขนาดเขื่อง เตาดินเก่าๆหลายเตา ที่สำคัญ คือ ปรากฏมีสนิมแดงตกอยู่เรี่ยราดบริเวณเตาและพบพระท่ากระดานทุกๆพิมพ์อีกด้วย เป็นแหล่งสร้างพระท่ากระดาน เมืองท่ากระดานมีวัดสำคัญ 3 วัดคือ วัดเหนือ (วัดบน) วัดกลาง (ปัจจุบันชื่อ วัดท่ากระดาน) และวัดล่าง
"วัดท่ากระดาน หรือ วัดกลาง" อันเป็นวัดสำคัญ 1 ใน 3 วัดของ "เมืองท่ากระดาน" เมืองเก่าแก่เมืองเดียวริมแม่น้ำแควใหญ่ที่มีความสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาเคียงคู่กับเมืองกาญจนบุรีเก่า และเมืองไทรโยค คือเป็นเมืองที่มีเจ้าปกครอง อีกทั้งเป็นเมืองหน้าด่านที่ต้องสู้รบกับกองทัพพม่าที่ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ในทุกคราว แต่ปัจจุบันลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์ จึงถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2438 และลดฐานะเป็นหมู่บ้านชื่อ "บ้านท่ากระดาน" ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนท่ากระดาน และตำบล อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
พ.ศ. 2495 ได้มีการขุดค้นหาโบราณวัตถุกันเป็นการใหญ่และได้พบพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่วัดทั้งสามเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่วัดกลาง ซึ่งเรียกชื่อเต็มว่า "วัดท่ากระดาน" นั้น ได้ปรากฏพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่สนิมแดงงามจัดและปิดทองมาแต่ในกรุทุกองค์ กอปรกับวัดนี้ตั้งอยู่ในส่วนกลางของเมืองท่ากระดานเก่าพอดี ชาวบ้านจึงเห็นเหมาะสมที่จะเรียกพระพิมพ์นี้ตามชื่อวัดว่า "พระท่ากระดาน"
พระท่ากระดาน มีพุทธลักษณะเค้าพระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม แข้งเป็นสัน และพระหนุแหลมยื่นออกมา ลักษณะเหมือน "พระอู่ทองหน้าแก่ อันเป็นพุทธศิลปะสมัยลพบุรี และด้วยอายุการสร้างเกินกว่า 500 ปี พระท่ากระดานส่วนมากจึงเกิด สนิมไข และสนิมแดง ขึ้นคลุมอย่างหนาแน่นและส่วนใหญ่จะลงรักปิดทองมาแต่เดิม ดังนั้นข้อพิจารณาเบื้องต้นในการศึกษา "พระท่ากระดาน" ก็คือ สภาพสนิมไข สนิมแดง และรักเก่า ทองเก่า
ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, วัดท่ากระดาน, โพสต์แก้ไข 16 กันยายน 2553.








Copyright © 2019 Form Webmaster Amuletherritage.
กลับด้านบน